วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Curriculum  Planning
ปฏิบัติการ : วางแผนการพัฒนาหลักสูตร (
Curriculum Planning )



กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ

การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้

การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
Curriculum
Planning
วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
การวางแผนหลักสูตร
      แนวคิด ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์
ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์(Ralph W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
1.  What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
2.  What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3.  How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร
จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4.  How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของ
ประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 
1. การตั้งเป้าประสงค์     
 2. การเลือกเนื้อหา 
3. การสอน    
4. การประเมินผล
พื้นฐานด้านต่างๆ
1)    Subject matter หรือว่าผู้รู้ สำหรับผู้รู้ในสถานศึกษา ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำวิชา และนักศึกษาฝึกสอน นอกจากนี้ Subject matter ยังรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เช่น นักการ ภารโรง แม่ค้า ชาวบ้าน เป็นต้น
2)    Learner คือด้านผู้เรียน เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านผู้เรียนก็เนื่องจากว่า
•      เราจะพัฒนาความรู้ด้านพุทธิพิสัยหรือ cognitive domain ของเด็ก ได้แก่ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
•      พัฒนาด้านภาษาศาสตร์ (linguistic)
•      พัฒนาด้านจิตสังคม ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ
•      พัฒนาด้านจิตพิสัย และคุณธรรม
•      เน้นด้านอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
3)    Society  คือด้านสังคม เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม จะครอบคลุมถึงครอบครัว ศาสนา และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบการศึกษาไทยและแผนพัฒนาการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสังคมก็เพราะว่าเราจะนำความรู้ไปพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะด้านอาชีพ การจัดระเบียบทางสังคมและด้านคุณธรรม ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การถ่ายทอดค่านิยมทางความคิดและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
ปรัชญาการศึกษา
1. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ความจริงทางธรรมชาติ
2. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม(Perenialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่าโลกนี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง ที่เราควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป
3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม(Progressivism)
เป็นปรัชญาที่มีความเชื่อว่าการดำรงชีวิตที่ดี ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดที่ดีและการกระทำที่เหมาะสม
4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม เป็นหน้าที่ของสมาชิกของคนในสังคมทุกคน และการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม(Existentialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อในความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนจะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญ (essence) ด้วยตนเอง
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
                เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้  เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
-     Reading (อ่านออก)
-     Writing (เขียนได้)
-     Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
-     Critical Thinking & Problem solving  คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
-     Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
-     Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
-     Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้ ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นหาเราไม่ทำงานร่วมกันเป็นทีม แล้วเราจะขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้
-     Communication information and media literacy  คือความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
-     Computing and ICT literacy  คือความสามารถในยุคของ Digital age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
-     Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ แปลตามตัวอักษรนะ แต่ในความรู้สึกผม มันน่าจะหมายถึงทักษะที่เราจะใช้ชีวิตที่อยู่กับโลกนี้ มองโลกนี้เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองตัวเราเป็นศูนย์กลาง หมายถึงความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิต และสังคมของเรา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ้าเราแบ่ง 7Cs ออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
-    ส่วนของการพัฒนาด้านความคิด (Critical Thinking Creativity Collaboration Cross-Culture)
-    ส่วนของ( Literacy) คือ ความสามารถความเข้าใจ (Information Communication Media ICT Literacy)
-    ส่วนของ (Life Skill) คือ มองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองเราเป็นศูนย์กลาง

What is the purpose of the education?
การวางแผนหลักสูตร (Planning)
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา มุ่งสู่ความเป็นเลิศการจัดการอาชีวศึกษาและสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม ให้บริการชุมชนได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาการวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และผลิตนักเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรี  ฝีมือเป็นเยี่ยม  วิชาการเป็นเลิศ  คุณธรรมสูงยิ่ง





Curriculum Design
ปฏิบัติการ : ออกแบบการพัฒนาหลักสูตร ( Curriculum Design)

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
Curriculum
Planning
วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
การออกแบบหลักสูตร
     ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน
กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้

1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึงการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ











What educational experiences will attain the purposes?
การออกแบบหลักสูตร (Design)
พันธกิจ
  ๑. จัดการศึกษาวิชาชีพ  สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีคุณภาพ  มีคุณธรรมจริยธรรม
    ๒. ให้บริการชุมชนได้ตามมาตรฐาน
    ๓. สร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์  การวิจัยและพัฒนา  ผลิตนักเทคโนโลยี




Curriculum  Organization
ปฏิบัติการ : การจัดทำหลักสูตร Curriculum  Organization

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลให
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
Curriculum
Planning
วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
การจัดทำหลักสูตร
แนวคิดการจัดหลักสูตรของออร์นสไตล์และฮันคินส์
ออร์นสไตล์และฮันคินส์ อธิบายว่า การจัดหลักสูตร หมายถึง การจัดโครงสร้างขององค์ประกอบของหลักสูตรส่วนหลัก คือ
-        เป้าหมาย จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-        เนื้อหาสาระ
-        กิจกรรมการเรียนการสอน
-        การประเมินผล
นอกจากนี้การจัดหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการ ดังนี้
1.         การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างโดยจะต้องคำนึงถึงเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
-วุฒิภาวะ ประสบการณ์ ความสามารถของผู้เรียน
-ความยากง่ายของเนื้อหา
-ความทันสมัยและความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
-ความสมดุลระหว่างความกว้าง ความลึกของเนื้อหาวิชา
-คุณค่าของเนื้อหาที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ เป็น การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคญต่างๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง เป็นการจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่างให้มคความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
4.ความสอดคล้องเชื่อมโยง ทั้งแนวตั้งเช่น เนื้อหาภูมิศาสตร์ สอดคล้องกลับประวัติศาสตร์ และแนวนอน เช่น เนื้อหา วิทยาศาสตร์ป.สอดคลองกับ ม.1
5. การบูรณาการ กับหัวข้อหรือวิชาอื่น
6. ความสมดุล โอลิวาเสนอแนวทางในการพิจารณาความสมดุลของหลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและหลักสูตรที่เน้นรายวิชา
-ความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคม
-ความต้อการเกี่ยวกับวิชาสามัญและวิชาเฉพาะด้าน
-ความกว้างและความลึกของเนื้อหาวิชา
-เนื้อหาเก่าแบบเดิมกับเนื้อหาที่ทันสมัย
-รูปแบบการเรียนของนักเรียนแต่ละคน
-ความแตกต่างระว่าวิธีสอนแบบต่างๆและประสบการณ์ทางการศึกษาของครูแต่ละคน
-ความสมดุลระหว่างการเรียนกับการเล่น
-แรงผลักดันของชุมชนและโรงเรียน

How can these experiences be effectively organized?
การจัดการหลักสูตร (Organize) 
การพัฒนาหลักสูตร
1.ศึกษาความต้องการจากนักเรียนและสังคม
2.กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.เลือกเนื้อหาให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย
4.กำหนดแผนจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนรู้
5.นำหลักสูตรไปใช้จริง
6.ประเมิลผลหลักสูตรหลังจากนำหลักสูตรไปใช้จริง
7.แก้ไขปรับปรุ่งหลักสูตร




Curriculum  Evaluation
ปฏิบัติการ : การประเมินหลักสูตร Curriculum  Evaluation

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลให
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
Curriculum
Planning
วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
การประเมินหลักสูตร
  ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956)
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
          1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
          2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
          3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา สามารถแบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ ดังนี้
          1. จำ (Remembering) หมายถึง ความสามารถในการระลึกได้ แสดงรายการได้ บอกได้ ระบุ บอกชื่อได้ ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถบอกความหมายของทฤษฎีได้
          2. เข้าใจ (Understanding) หมายถึง ความสามารถในการแปลความหมาย ยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถอธิบายแนวคิดของทฤษฎีได้
          3. ประยุกต์ใช้ (Applying) หมายถึง ความสามารถในการนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ แก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาได้
          4. วิเคราะห์ (Analyzing) หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ อธิบายลักษณะการจัดการ ตัวอย่างเช่น นักเรียน สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง 2 ทฤษฎีได้
          5. ประเมินค่า (Evaluating) หมายถึง ความสามารถในการตรวจสอบ วิจารณ์ ตัดสิน ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถตัดสินคุณค่าของทฤษฎีได้
          6. คิดสร้างสรรค์ (Creating) หมายถึง ความสามารถในการออกแบบ (Design) วางแผน ผลิต ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถนำเสนอทฤษฎีใหม่ที่แตกต่างไปจากทฤษฎีเดิมได้
     การประเมินด้านพุทธิพิสัยที่เป็นที่นิยม ดังต่อไปนี้ 
นำเสนอเครื่องการและวิธีการประเมินด้านพุทธิพิสัยที่เป็นที่นิยม ดังต่อไปนี้ 
     1 ข้อสอบอัตนัย
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
     1.การรับรู้  เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น

     2. การตอบสนอง เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
     3. การเกิดค่านิยม  การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
     4. การจัดระบบ  การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
     5. บุคลิกภาพ การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
     วิธีการวัดและประเมินจิตพิสัย
การวัดจิตพิสัยสามารถกระทำได้หลากหลายวิธี นำเสนอวิธีที่นิยมดังต่อไปนี้
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
 (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
      พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ

พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
     1. การรับรู้  เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
     2. กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ  เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
     3. การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ  เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว  ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
     4. การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว  การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้  ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
     5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ  ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
    
      How can we determine when the purposes are met?
การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
แผนการประเมิน
   1. การเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผลแยกออกเป็น 3 ส่วนโดยแบ่งคะแนน
แต่ละส่วนจาก 100 คะแนน   
     1.1 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย 20 คะแนน หรือ ร้อยละ 20
     1.2 พิจารณาจากกิจนิสัย ความสนใจ การเข้าร่วมกิจกรรม 10 คะแนน
หรือ10 เปอร์เซ็นต์
     1.3 ทดสอบภาคทฤษฎีแต่ละหน่วยการเรียน 70 เปอร์เซ็นต์

   2. เกณฑ์การผ่าน ผู้ที่จะผ่านรายวิชานี้จะต้อง      
     2.1 ได้คะแนนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 50 คะแนน หรือ ร้อยละ 50
     2.2 มีเวลาเข้าชั้นเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์
   3. เกณฑ์ค่าระดับคะแนน       
     3.1 พิจารณาตามเกณฑ์ผ่านรายวิชาตามข้อ 2 ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตาม
ข้อ 2 จะได้ค่าระดับคะแนน  เกรด 0           
     3.2 ผู้ผ่านเกณฑ์ข้อ 2 จะได้ค่าระดับคะแนนตามเกณฑ์ดังนี้

คะแนน     
 80 - 100     เกรด 4
คะแนน     
 75 - 79     เกรด 3.5
คะแนน      
70 - 74         เกรด 3
คะแนน     
 65 - 69     เกรด 2.5
คะแนน      
60 - 64         เกรด 2
คะแนน     
 55 - 59     เกรด 1.5
คะแนน      
50 - 54         เกรด 1
คะแนน      
ต่ำกว่า 50     เกรด 0



พัฒนาหลักสูตรรายวิชา

1. ชื่อวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ   รหัส 2104 – 2203  3 ( 2-2-5 )
2. จุดประสงค์การสอน
1.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
2.       เพื่อให้มีทักษะในการอ่านแบบและประกอบวงจรไฟฟ้ากระแสสลับได้
3.       เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัดและทดลองที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดค่าต่างๆ
4.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์วงจรไฟฟ้ากระแสสลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
5.       เพื่อให้นักเรียนสามารถปฎิบัติงานวิเคราะห์และออกแบบวงจรได้ด้วยความละเอียดของงาน
3. คำอธิบาย
            ศึกษาแล้วปฎิบัติงานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ  พารามิเตอร์ของคลื่นรูปไซน์วงจรแบบอนุกรม วงจรแบบขนานและวงจรแบบผสม การใช้เครื่องมือวัด และทดลองวัดค่าวงจรกระแส  และความถี่ กำลังงานไฟฟ้า เพาเวอร์ แฟกเตอร์ พื้นฐานการวิเคราะห์  วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ  การทดลอ งที่ประยุกต์ใช้งาน เช่น วงจรไฟฟ้า และ วงจรระบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
4. แนวคิดของบลูม
1.       พุทธิพิสัย  คือ  ให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจและความจำในวงจรไฟฟ้า โดยการทดสอบต่อวงจรและแบบฝึกหัดหลังเรียนและก่อนเรียน
2.       จิตพิสัย  คือ  ให้ผู้เรียนมีค่านิยม  ความรู้สึกในการรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และ ปรับเปรียบแนวคิดให้ผู้เรียนมีอุดมคติไปในทิศทางพฤติกรรมที่ดีขึ้นเช่นเขาอาจจะตั้งใจเรียนมากขึ้น
3.       ทักษะพิสัย คือ ผู้เรียนสามารถอ่านวงจรและปฎิบัติงานได้ถูกต้อง

5. หลักในการพิจารณาฮันคิน
            - เลือกข้อที่ 4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง เพราะว่าการเรียนรู้เนื้อหาที่ต่อเนื่องถึง            
                จะเกิดความเข้าใจ
            - เลือกข้อที่ 3 ความต่อเนื่อง การจัดเนื้อหา ประสบการ การเรียนรู้ทักษะต่างๆ

6. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น หาเนื้อหา สถานที่ และ เครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้เรียน